https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhxihbmGNGJxotFDml4wimxhHHwzoKR-DY3EyEyqvzYaLVeG0-JZDj5dihjqHk6Q5BqKvKkrSiN_s8-IfJ_weHaMA8iEFJ-CgLeGzGUMwLK-cM2VCGIW88nrPNH8d35QjFJVDEij7H0X5xjceb66K2yX1CKsYNaoiO0XDRFKmntCit08nKl9lQ9ATBl/s16000/20220703-1.jpg

ในตอนนี้หลายคนก็คงจะทราบข่าว หรือได้ยินมาไกลๆ ว่า "มีการเปลี่ยนหัวปลั๊กกันใหม่อีกแล้ว" หรือพูดง่ายๆ ว่า ในตอนนี้หัวปลั๊กแบบที่เราใช้งานอยู่ มันได้เป็นคำสั่งยกเลิกการใช้งาน และห้ามนำเข้าแล้ว เพราะว่าอะไร เดี๋ยวในบทความของ TamKung วันนี้ เราจะมาพูดกันถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของสายไฟและอุปกรณ์ต่อพ่วง

ณ ตอนนี้เรื่องของปลั๊กไฟ สายไฟ หรือสินค้าจำพวก มอก. 166-2549 ได้มีการบังคับใช้กันแล้ว โดยเป็นกฎหมายที่ควบคุมห้ามผลิตและจัดจำหน่ายสายไฟและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่ไม่ได้มาตรฐาน มอก. 166-2549 ซึ่งส่งผลต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ อย่างที่ต้องปรับปรุงแก้ไขตามกฏหมายฉบับนี้

ส่วนสาเหตุที่มีการปรับเปลี่ยนกฎหมายนี้ ก็เป็นเพราะว่า จากเดิมหัวปลั๊กที่เราใช้งาน จะเป็นแบบขากลมทั้งหมดครับ ทำให้เวลาการใช้งานและตรงรูเสียบปลั๊กไฟมันไม่สมดุลกัน มันจะไม่แน่น ไม่หลวมจนเกินไป และจะต้องมีฉนวนกันไฟฟ้าที่โคนขาปลั๊ก ซึ่งสมัยก่อนเต้ารับมันจะเป็นแบบ 2 ขา โดยหลายคนที่ซื้อมาก็จะหักขามันทิ้ง เพื่อให้ใช้งานกับปลั๊กที่มีอยู่ได้ ซึ่งในอดีตในไทยเรา ยังไม่ได้กำหนดมาตราฐานการใช้งาน ว่าต้องเป็นแบบไหน

https://4.bp.blogspot.com/-s5oJsBG_YMw/WsSgzaBHWcI/AAAAAAAAARo/7oe89A1tIV8GhutvYok2QD5e4Wu4kg3IgCLcBGAs/w640-h608/19420799_1802535626439480_4887672710647505396_n.png

โดยทั่วไปแล้ว สินค้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้านเรานำเข้ามา จะเป็นทั้งฝั่งของญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมาในปลั๊กแบบหัวแบน แต่เมื่อประเทศไทยมาใช้มาตรฐานไฟฟ้าตามบ้านเป็นแบบยุโรป 220V ก็เลยเหมาะกับแบบหัวกลมมากว่า และตอนนี้ก็เลยออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้ให้เป็นมาตราฐานเดียวกันทั้งตัวเต้ารับและตัวปลั๊กกันไปเลยนั่นเอง

หลายคนก็อาจจะส่งสัยว่า ถ้ามีกฎมายแบบนี้ออกมา แล้วที่บ้านของเรายังมีปลั๊กแบบเดิมอยู่ เราจะโดนจับไหมนะ? คำตอบคือ ไม่เป็นไรครับ เนื่องจากกฎหมายตัวนี้ ออกมาเพื่อห้ามสำหรับการเอามาวางจำหน่ายหรือการนำเข้าครับ โดยต้องใช้สินค้าที่เป็นของที่ผลิตกันมาก่อนเดือนพฤศจิกายน ปี 2020  แต่ถ้าตอนนี้จะซื้อใหม่ ต้องมีมาตราฐานมอก. 166-2549 เท่านั้นครับ

https://i1.wp.com/www.beartai.com/wp-content/uploads/2022/06/power-plug-2802657_1920.jpg?ssl=1

ในส่วนของ มอก. ฉบับนี้ ก็จะมีรายละเอียดที่เยอะแยะมากมาย ยกตัวอย่างเช่น

  1. มอก.ฉบับนี้บังคับใช้กับปลั๊กพ่วงแบบหยิบยกได้ รวมถึงชุดสายพ่วง

  2. ขอบข่ายการใช้คือ มากกว่า 50V แต่ไม่ถึง 440V และขอบข่ายของแอมแปร์ห้ามมากกว่า 16A สำหรับการใช้งานภายในและภายนอกอาคาร

  3. มาตรฐานการใช้งานปลั๊กพ่วงคือ อุณหภูมิภายนอกห้ามเกิน 40 องศาองศาเซลเซียส และถ้าใช้งาน 24 ชั่วโมง อุณหภูมิเฉลี่ยโดยรอบห้ามเกิน 35 องศาเซลเซียส

  4. กำหนดให้หัวปลั๊กต้องใช้เป็นแบบ 3 ขา มอก.166-2549 เท่านั้น

  5. ตัวบอดี้ จะต้องเป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟ หรือใส่สารกันลุกติดลามไฟ

  6. เต้ารับทุกเต้าจะต้องมีส่วนที่สัมผัสลงดินจริง ห้าม! ทำกราวด์หลอกอีกต่อไป

  7. ถ้ามีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น สวิตช์ ตัวกรองความถี่ อุปกรณ์กันแรงดันเกิน ควรได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้วย

หลัก ๆ ก็คือ "ปลั๊กที่ใช้ฟิวส์ที่ใช้ขา 2 ขา แบบที่เราคุ้นตา" ปีหน้าเขาห้ามผลิตเพิ่มแล้วนะครับ ยังสามารถขายต่อได้จนกว่าจะหมด แต่ต้องรายงานสต๊อกต่อ สมอ. ห้ามผลิตเพิ่มครับ ใครคิดว่ายังจำเป็นต้องใช้ปลั๊กราง ปลั๊กไฟแบบนี้ ก็ซื้อมาตุนไว้เสียนะครับ

ติดตาม แต้มเอง ที่: go.tamkung.me/link

Donate and support for ME!

Tipme (ใช้พร้อมเพย์): https://tipme.in.th/tamkung

ฟัง TamKung Podcast ได้ที่ Spotify Podcast | Apple Podcast | Google Podcast

ติดตาม TamKungPhoto ได้ที่ #TamKungPhoto | ShutterStock | Pixabay