Blogger VS WordPress อันไหนดีกว่ากันและควรใช้อะไรทำเว็บไซต์ดี
ผมเชื่อว่าหลายท่านที่เป็นนักเขียน Blog อยู่แล้วในตอนนี้ ต้องได้เคยได้ยินหรือรู้จักแพลตฟอร์มในการเขียนบทความเพื่อเอาไปลงในเว็บไซต์ของตัวเอง ซึ่งในปัจจุบันก็มีอยู่มากมายให้เลือกใช้งาน แต่ที่ต้องเคยได้ยินแน่ๆ ต้องมี Blogger กับ WordPress แน่นอน แต่หลายคนที่กำลังจะเริ่มเขียนบทความก็อาจจะสงสัย ว่าแพลตฟอร์มไหนมีดีอย่างไร และควรใช้อันไหนดี วันนี้ในบทความของ TamKung จะมาเปรียบเทียบกันให้ดูว่า Blogger กับ WordPress อันไหนจะดีกว่ากัน และควรใช้อะไรทำเว็บไซต์ดี
ก่อนอื่นต้องลองมาทำความรู้จักกันก่อน
- Blogger
Blogger.com เรียกได้ว่าชื่อของมันก็ตรงตัวอยู่แล้ว คือมันนิยมใช้งานในการเขียน Blog การเขียนบทความ มันคือเว็บไซต์ที่เรียกได้ว่าเป็นเหมือนตัวเริ่มต้นของใครหลายๆ คน เนื่องจากมันมีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน และให้บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดย Blogger เป็นบริการเว็บไซต์เพื่อเขียนบทความของทาง Google นั่นทำให้ทุกคนที่ใช้งาน Gmail สามารถเข้าไปสร้างเว็บไซต์ Blog ได้ครับ
Blogger.com ยังเป็นที่รู้จักกันในนามของ BlogSpot เพราะว่าในทุกโดเมนของชื่อเว็บจะถูกตามด้วย Blogspot.com เวลาเราไปที่ไหน แล้วเห็นว่าเว็บไซต์นั้นตามด้วย Blogspot.com (เช่น tamkungblog.blogspot.com) แสดงว่าใช้งานเขียนบทความผ่านทาง Blogger นั้นเอง แต่หากใครที่ไม่ต้องการให้มี Blogspot ตามหลัง ก็สามารถไปหาซื้อ Domain name แล้วเอามาให้ระบบเว็บไซต์ใช้งานแทนครับ
- WordPress
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า WordPress นั้นจะมีอยู่ 2 อย่าง คือ WordPress.org ที่เอาไว้สำหรับเว็บไซต์ที่มี Server ซึ่งจะเป็นเหมือน Software ที่ฟรี เอาไปใช้กับเครื่องไหนก็ได้ กับ WordPress.com สำหรับการเช่าบริการ Server ของทาง WordPress โดยตรงครับ นั้นหมายความว่า หากเราจะเลือกใช้งานได้ทั้งฟรี และเสียค่าบริการรายเดือนครับ แต่เอาจริงๆ การที่จะบอกว่า WordPress นั้นฟรีแบบ 100% ก็อาจจะไม่ถูก เพราะการที่จะเอา WordPress ไปติดตั้งที่ Server ของเรานั้น ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของ Server หรือการเช่าเครื่อง Server จากที่อื่นนั้นเองครับ
แต่ WordPress ก็เรียกได้ว่ามีความนิยมในการใช้งานอยู่ค่อนข้างเยอะ โดยสามารถคิดได้ว่าเป็น 20% ของจำนวนเว็บไซต์ที่มีอยู่เลย โดยมันเป็นระบบที่เอาไว้จัดการกับเนื้อหา (CMS) ซึ่งจะทำให้เราสามารถสร้าง จัดการ และเผยแพร่บทความของเราได้ครับ
แล้วระหว่าง Blogger กับ WordPress ใครดีกว่ากัน?
ผมต้องบอกว่า ถึงตอนนี้ก็ยังตัดสินไม่ได้นะครับ ว่าใครจะเป็นระบบที่ดีกว่า หรือใครเป็นระบบที่ด้อยกว่า แต่สิ่งที่อยากจะบอกคือ การที่ต้องหาระบบที่เหมาะสมกับงานของเรามากที่สุดครับ ยกตัวอย่างเช่น การที่ต้องการเขียน Blog เพื่อเป็นงานอดิเรก ที่ไม่ได้คิดอยากจะจริงจังกับมันมาก ก็อาจจะเลือกเป็น Blogger แต่หากงานบทความที่เราต้องเขียนนั้น มีความเป็นงาน การแสดงผลงานที่ต้องการความจริงจัง หรืองานระดับองค์กร การใช้ WordPress ก็จะเป็นทางที่เหมาะสมกว่า
แต่เอาเป็นว่า เดี๋ยววันนี้เรามาลองดูกันว่า ข้อดีกับข้อเสีย ของทั้ง 2 แพลตฟอร์มนั้นมีอะไรบ้าง
Blogger
ข้อดี
- เราไม่ต้องเสียเงินเลย แม้แต่บาทเดียวในการใช้งานบนแพลตฟอร์มของ Blogger
เพราะเนื่องจากว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มีการใช้งานผ่าน Google ทำให้เราสามารถใช้งาน Blogger ได้อย่างเต็มที่ และไม่จำเป็นต้องเสียเงินสำหรับค่า Server เลย
- เราสามารถเริ่มการสร้าง Blog ของเราได้ภายในเวลาอันสั้น และพร้อมเขียนงานลงได้เลย
คือมันเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่ายมากๆ และสามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็ว โดยที่หากต้องการเริ่มนับตั้งแต่สร้าง Blog ก็สามารถพร้อมเขียนงานลงได้ภายใน 10 นาทีเลยครับ
- ไม่มีระบบในการส่งเนื้อหาเพื่อให้มีการตรวจสอบก่อนจะเผยแพร่
หากใครที่ชินกับการต้องส่งบทความเพื่อให้หัวหน้า หรือระบบตรวจสอบเนื้อหาของเราก่อน ก่อนที่จะเผยแพร่ได้ เพราะฉะนั้น เราสามารถเขียนอะไรก็ได้ ตามที่เราต้องการ แถมระบบ SEO ก็สามารถทำได้อีกด้วย
- มีระบบการบันทึกอัตโนมัติ
ทุกการเขียนบทความ หรือการเปลี่ยนแปลงอะไรกับบทความ เราก็ไม่ต้องเสียเวลาในการกดปุ่มบันทึก หรือเผลอกดปิดไป มันก็จะไม่หาย เพราะว่ามันมีระบบบันทึกอัตโนมัติครับ
- มี Domain Name ให้ใช้ฟรี
อย่างที่บอกครับ ว่าเราสามารถสร้างเว็บไซต์ได้ฟรี แถม Domain name ให้อีกด้วย ทำให้เราสามารถตั้งชื่อเว็บไซต์เพื่อบ่งบอกถึงความเป็น Blog ของเรา (แต่ก็ต้องพ่วงมาด้วย Blogspot.com)
- สามารถเขียน Script พวก HTML หรือ JavaScript ได้
มันก็จะเป็นเหมือนกับเว็บไซต์ทั่วไป ที่จะสามารถทำให้เราเพิ่ม Script พวกภาษาของเว็บไซต์ได้ ทั้งภาษา HTML, Java Script, CSS เพราะฉะนั้นหากเราพอจะมีความรู้ด้านนี้บ้าง ก็สามารถเอามาออกแบบหน้าเว็บไซต์ของเราได้
- นอกจากจะฟรี แถมยังอาจสร้างรายได้ให้เราได้
ด้วยความสามารถอีกอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนยังใช้งานอยู่ มันคือสามารถนำ Blog นี้ไปสร้างรายได้ได้ ด้วยการเพิ่ม Google Adsense หรือจะเป็น Amazon ได้อีกด้วย แถมยังสามารถเอา Blogger ที่เป็นตัวฟรีใช้งานได้อีกด้วย (แบบที่มี Blogspot.com ตามท้ายก็ทำได้)
- พื้นที่ที่ไม่จำกัด
แม้ว่า Google Photo จะไม่ฟรีแล้ว แต่ Blogger ก็ยังคงความฟรี แบบไม่จำกัดพื้นที่เก็บข้อมูลครับ ทำให้เราสามารถอัปโหลดรูปเพื่อใช้งานบนเว็บไซต์ได้เลยละครับ
ข้อเสีย
- เราไม่สามารถจัดการกับโครงสร้างของเว็บไซต์
เพราะว่าเราไม่ได้เป็นเจ้าของของ Server ทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่อยู่เบื้องลึกเบื้องหลังครับ เพราะฉะนั้นเราจะไม่สามารถไปแก้ไขว่าเว็บไซต์ของเราจะเป็นอย่างไร (ซึ่งอันนี้ไม่ได้รวมถึงการแก้ไข Theme ของ Blogger นะครับ)
- อาจจะต้องเพิ่มเงินในการซื้อ Template ใหม่ หากไม่ชอบแบบเก่า
จริงๆ Blogger จะมีตัว Template ที่เอาไว้ให้ใช้งานได้แบบฟรีๆ แต่หากใครที่รู้สึกไม่ชอบ เพราะดูเหมือนมันจะเก่าเกินไป ก็อาจจะต้องไปหาซื้อ Theme จากที่อื่น โดยราคาก็อาจจะเริ่มต้นที่ 300 บาทรับ (อย่างของ tamkune.me นี้ ผมเองก็ซื้อมาในราคา 500 บาทครับ)
- เราไม่ได้เป็นเจ้าของอย่าง 100% หากละเมิดข้อกำหนด ก็อาจจะถูกระงับบัญชีได้
หากเรามีการละเมิดข้อกำหนดในการใช้งาน เราก็อาจจะถูกตรวจสอบและโดนระงับบัญชีได้ แต่เนื่องจากมันไม่มีใครมาตรวจเนื้อหาของเราก่อน ก็อาจจะต้องถูกรายงานบ่อยๆ ถึงจะโดนระงับครับ
- เราจะไม่สามารถเข้าถึง FTP ได้
หากใครเป็นสาย Tech หรือสายภาษาคอม ก็อาจจะเข้าใจถึง FTP นั้นคือการเข้าถึงข้อมูลของเว็บไซต์ ข้อมูลของแต่ละบทความ ที่จะเพิ่มความสะดวกในการทำงานบนเว็บไซต์ได้ แต่เนื่องจาก เราไม่ได้เป็นเจ้าของ Blogger อย่างเป็นทางการ นั้นก็ทำให้เราไม่สามารถอัปโหลดข้อมูลไปยังเว็บไซต์ โดยใช้งานผ่าน FTP ครับ
- อาจจะมี Bug อยู่เยอะ
เพราะว่ามันเป็นระบบแพลตฟอร์มที่ค่อนข้างเก่า ทำให้เทคโนโลยีอย่างปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง แต่ Blogger อาจจะไม่ได้เปลี่ยนตาม ทำให้ในบางครั้งก็อาจจะเกิด Bug แบบงงงงได้ ก็ต้องทำใจกันหน่อยนะครับ
WordPress.com
ข้อดี
- ใช้งานได้ฟรี
- ไม่ต้องกลัวเรื่องความปลอดภัย
- Interface สวยงาม เรียบหรู
- มีฟีเจอร์ให้อัพเกรดเว็บไซต์แบบเสียเงินได้
ข้อเสีย
- ถ้าจะเพิ่ม Domain name ของตัวเอง ต้องอัพเกรด/เสียเงิน 13 เหรียญ หรือราว 520 บาท
มันเลยกลายเป็นข้อถกเถียงว่า มันอาจจะได้ทีความสะดวกเหมือน Blogger ในเรื่องของการเปลี่ยนลิงก์เว็บไซต์ครับ
- ไม่สามารถสร้างรายได้ด้วยโฆษณาได้
เพราะหากเราต้องการให้มีโฆษณาแสดงบนหน้าเว็บของเราได้นั้น ก็ต้องซื้อฟีเจอร์ของตัว WordPress เอง
- ติดตั้ง Plugin ไม่ได้
Plugin เป็นเหมือนกับของเล่นที่จะทำให้เว็บไซต์ของเรานั้นมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น แต่ในเวอร์ชั่นฟรีนี้ จะทำให้เราไม่สามารถซื้อหรือติดตั้ง Plugin บนเว็บไซต์ของเราได้
- ไม่สามารถเพิ่มโค้ดหรือ Script ที่กำหนดเองได้
มันจะไม่เหมือนกับ Blogger ที่ว่า เราไม่สามารถเพิ่มภาษา HTML หรือ CSS อื่นๆ ได้ครับ
- จะต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนมาก
เนื่องจากแผนการจ่ายและการอัพเกรดของ Wordpress.com นั้นค่อนข้างแพง ตัวอย่างเช่น มีค่าใช้จ่าย $99/ปี สำหรับ Package WordPress.com Premium (ที่มีทรัพยากรจำกัด) เมื่อมีค่าใช้จ่ายเพียง $60 หากคุณเริ่มสร้างบล็อก WordPress แบบโฮสต์เอง
- มีพื้นที่เก็บไฟล์แค่ 3 GB
WordPress.org
มาในส่วนของ Software ที่ฟรี สำหรับการใช้งาน Wordpress ที่ฟรี บนเครื่อง Server ของเราเองครับ และนับว่าเป็น Software ที่มีหลายคนทั่วโลกชอบใช้งาน ทั้งงานส่วนตัวหรืองานระดับองค์กร ที่เมื่อเราไปหา Server ที่ไหนก็ตาม ก็จะมีตัวเลือกสำหรับการใช้งานเพื่อ Wordpress โดยเฉพาะ
ข้อดี
- ทุกสิ่งทุกอย่าง จะเป็นของเราเอง ไม่ต้องไปขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการอื่นๆ
- สามารถกำหนดโครงสร้างของเว็บไซต์ได้
- สามารถสร้างรายได้ภายใน Blog ของเราได้
- ควบคุมได้ทุกอย่างของเว็บไซต์
- สามารถติดตั้ง Theme และ Plugin ได้อย่างเต็มที่
เรียกได้ว่ามีของเล่นมาให้เลือกเล่นได้เพียบ แถมถ้าเราอยากจะหาอย่างอื่นมาลง ก็สามารถไปหาซื้อได้ตามตลาดเว็บไซต์ได้เลยครับ เขามีรองรับแทบจะหมดทุกอย่างเลยจริงๆ
- ไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับค่าธรรมเนียม
- สามารถสร้าง Email เป็นของตัวเองได้ (หากตัว Server รองรับระบบ Email)
ข้อเสีย
- แม้ว่าตัวจะฟรี แต่ก็ต้องเสียค่า Server
แม้ว่า WordPress.org จะมี Software ให้ใช้งานได้แบบฟรีๆ แต่เราอาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับ Server ที่ให้บริการ โดยราคาก็มีทั้งเช่า Server หรือซื้อ Server มาตั้งที่องค์กรของเราครับ โดยถ้าหากเราเช่า ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 300 บาทต่อเดือนขึ้นไป หรืออาจจะมากกว่านั้นได้ แต่ถ้าจะซื้อเครื่อง Server ก็อาจจะมีราคาสูงถึงหลักหมื่นบาทได้เลยครับ
- อาจจะต้องเข้าใจภาษาคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง (ถ้าจะทำเอง)
การติดตั้ง WordPress บน Server ของเรานั้น อาจจะต้องเข้าใจถึงภาษาคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง แต่ก็ใช้เวลาในการติดตั้งประมาณ 10 นาทีได้ครับ และก็อาจจะต้องตั้งค่า PHP, HTML, CSS, SQL, FTP เป็นต้น
- ถ้าต้องการขยาย ก็ต้องขยายที่ Server
หากต้องการขยายฐานผู้ใช้งาน หรือต้องการเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานของเว็บไซต์ ก็ต้องไปเพิ่มขนาดของ Server ซึ่งจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายรายเดือนเพิ่มขึ้น
- ต้องทำการสำรองข้อมูลเอง
เนื่องจากทุกอย่างมันเป็นของเราเอง เพราะฉะนั้นการดูแลและการจัดการกับข้อมูลนั้นก็ต้องทำเองทั้งหมดครับ และการดูแลก็ต้องเพิ่มการดูแล เพราะถ้ามันพังขึ้นมา เราก็จะต้องเป็นคนจัดการเองครับ
โดยรวมแล้ว ทั้ง 2 แพลตฟอร์ม ก็มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย แต่ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของเรา ว่าจะใช้งานไปในด้านไหนนั้นเอง แต่ถ้าผมอยากจะแนะนำ ผมก็อยากจะให้ลองเขียนผ่าน Blogger ครับ เพราะผมเองก็ใช้งานอยู่ เมื่อก่อนผมก็ใช้ WordPress แต่เมื่อมันมีเรื่องของค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น การเปลี่ยนมาเป็น Blogger ก็อาจจะเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับหลายคน
แล้วเพื่อนๆ มีความคิดเห็นอย่างไร ก็สามารถมาแบ่งปันกันที่ช่องแสดงความคิดเห็นได้ครับ
เครดิต
รูปภาพหน้าปก / รูปภาพประกอบบทความ - TamKung(ผู้เขียน)
ฟัง TamKung Podcast ได้ที่ Spotify Podcast | Apple Podcast | Google Podcast
ติดตาม TamKung ได้ที่ TamKung
Facebook: แต้มเอง
Twitter: แต้มเอง
ติดตาม TamKungPhoto ได้ที่ #TamKungPhoto