ช่วงนี้เรายังคงอยู่กับบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการทำ Podcast อยู่นะครับ ก็เลยมีหลายคนมาถามว่าปกติผมเองใช้อะไรในการทำ Podcast แล้วใช้ Host ตัวไหนที่คุ้มค่าและง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด ผมก็ต้องตอบตรงนี้ว่า ผมใช้ Host ของ Anchor.fm ครับ โดยเป็น Host สำหรับ Podcast ที่ฟรีและดี พร้อมการเชื่อมต่อไปยัง Spotify ได้ง่ายมากๆ แต่หากจะให้ผมมาสอนวิธีที่ผมทำเอง อาจจะยากไปหน่อย เพราะฉะนั้นในบทความของ TamKung วันนี้ผมจะมาสอนวิธีทำ Podcast ผ่าน Anchor บน iPad หรือบน Smartphone ของเรากันครับ

{tocify} $title={Table of Contents}



เช่นเคยที่ว่า ขอฝากผลงาน Podcast ของ TamKung 

ฟัง TamKung Podcast ได้ที่ Spotify Podcast | Apple Podcast | Google Podcast

ผมขอแนะนำ Anchor ให้ทุกคนรู้จักกันก่อนนะครับ

Anchor เป็นแพลตฟอร์มการสร้าง Podcast ที่ร่วมกับ Spotify ซึ่งมีเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถเริ่มการสร้าง Podcast ของเราได้เองแบบง่าย และสามารถบันทึกเสียงจากที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ พร้อมเครื่องมือในการเผยแพร่ผ่าน Anchor ที่จะสามารถนำไปต่อยอดใน Spotify Podcast หรือ Apple Podcast ได้ผ่านตัว RSS ของ Anchor เท่านี้เราก็จะมี Podcast ของเราที่ไปอยู่บน Streaming ต่างๆ ที่รองรับระบบ Podcast แล้วละครับ และที่ผมว่ามาทั้งหมดคือ มันฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่มีจำกัดอีกด้วยครับ ผมภูมิใจนำเสนอเลย

วิธีการสมัคร

  • ให้เราติดตั้งแอพพลิเคชั่น Anchor บนอุปกรณ์ของเราก่อน (หากใช้บนคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานทุกอย่างเหมือนกับผ่าน Anchor.fm 
  • ติดตั้งผ่าน Apple Store 
  • ติดตั้งผ่าน Google Play Store 
  • ให้เราทำการสมัครสมาชิก แนะนำว่าให้สมัครผ่าน E-mail จะดีที่สุดครับ ทำการยืนยันวัน/เดือน/ปีเกิด 
  • เลือกโหมด "I want to make a new podcast" ก็คือต้องการสร้าง Podcast ใหม่ เรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมไปยืนยัน E-mail ที่สมัครไว้ด้วยนะครับ

ฟีเจอร์

หน้าตาแอพพลิเคชั่นไม่มีความยุ่งยากอะไรเลย แยกแต่ละหมวดหมู่ไว้ให้เราแล้วครับ มีเครื่องมือให้เราครบเลย ทั้งในการบันทึกเสียง แถมยังสามารถบันทึกเสียงกับเพื่อนจากอุปกรณ์อื่นได้ มีแหล่งเพลงและเอฟเฟคในการทำรายการ สามารถนำไปใช้งานได้โดยไม่ติดลิขสิทธิ์ครับ


  • Record - โหมดอัดเสียง ที่เราสามารถกดเข้าไปแล้วเลือกอุปกรณ์ที่ต้องการอัดเสียงได้ แล้วก็เริ่มอัดเสียงพูดที่เราต้องการพูดไปในรายการของเราได้เลย ตรงนี้จะไม่สามารถ Pause ได้นะครับ ต้องอัดยาวๆ แต่สามารถกดหมุด Flag หรือธงไว้ได้ เผื่อเราจะได้เอาไปตัดออกตอนภายหลังจากการอัดเสียงเสร็จแล้ว
  • Record with friends - โหมดนี้เราจะสามารถเลือกเพื่ออัดเสียงกับเพื่อนจากอุปกรณ์อื่น จากที่ไหนก็ได้ โดยเราเพียงคัดลอกลิงก์จากเครื่องเรา ส่งไปให้เพื่อนเข้าจาก Browser แล้วเลือกเข้ามา ซึ่งเพื่อนก็จะสามารถเลือกได้ว่าจะเอาอุปกรณ์ไหนในการบันทึกเสียง เมื่อพร้อมแล้วก็กด Record ก็จะเป็นการเริ่มบันทึกเสียงได้ทันทีครับ
  • Library - ในส่วนของเสียงที่เราบันทึกจากตัวแอพ หรือเราจะ Import มาจากโปรแกรมอัดเสียงอื่นๆ หรือเอามาจากการ Download อะไรก็ตาม สามารถนำเข้ามาในแอพ เพื่อการใช้งานต่อไปได้
  • Interludes/Sounds - คือแหล่งรวบรวมเพลงที่ทาง Anchor ไปรวบรวมมาจากแหล่งเพลงที่สามรถใช้งานได้ในงานเชิงพาณิชย์ได้แบบถูกลิขสิทธิ์และฟรีครับ ตรงนี้ก็ไม่ต้องกังวลว่า Podcast ของเราจะเงียบเกินไป นอกจากเพลงแล้วเรายังมีเสียงเอฟเฟคอีกด้วย เหมือนกันกับเพลงที่สามารถใช้งานได้ฟรี จะได้นำมาประกอบงานของเรา มีทั้งเอฟเฟคและ Transition เพื่อเปลี่ยนโทนรายการก็ได้

การทำงาน



  • ขั้นแรกเราก็จะต้องทำการอัดเสียงก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานของรายการเราครับ จะอัดเสียงยาวๆ ไปเลยหรือจะอัดเสียงแยกๆ เป็นส่วนๆ ของรายการก็ได้ 
  • เมื่อเรากดหยุดบันทึกเสียง ก็จะมาเรียงอยู่หน้า Timeline เราสามารถกด Add Background Music เพื่อเอาเพลงมาใส่พื้นหลัง หรือจะ Editing เสียงโดยการตั้ง Trim หรือ Crop เสียงให้อยู๋ในช่วงที่เราต้องการ ทั้งเอามันออกไปบ้างหรือจะทำอะไรกับเสียงก็ทำได้ครับ
  • ขั้นตอนต่อมาก็คือการตรวจสอบเสียงของเราทั้งหมดก่อนครับ ว่าใช้ได้หรือไม่ หากรู้สึกว่าโอเคแล้วก็พร้อมจะปล่อยออกอากาศแล้วละครับ

การออกอากาศ Podcast



เราจะต้องทำการตั้งค่ารายการ Podcast ของเราก่อน โดยให้ไปที่ Profile > Podcast Setting > Set up your podcast now ในส่วนนี้คือการตั้งค่าทั้งชื่อ ลิงก์สำหรับโปรไฟล์ และคำอธิบายของรายการครับ ซึ่งตรงนี้เราจะต้องมีรูปหน้าปกของรายการ ผมแนะนำให้ทำมาจาก Canva จะดีที่สุดแล้วค่อยเอามาใส่เป็นภาพหน้าปกครับ หรือใครไม่อยากทำ ก็สามารถหา Background แล้วใช้ชื่อของ Podcasat ไปอยู่กลางรูปก็ได้ 
ซึ่งในส่วนนี้เรายังสามารถแก้ไขได้ในภายหลัง หากยังไม่พร้อมก็ทำไว้ก่อนก็ได้ครับ แล้วเราก็เลือกประเภทของรายการ และภาษา และก็กด Turn on your RSS feed ได้เลยครับ เป็นอันเสร็จการตั้งค่า Podcast ของเรา

เมื่อเราทำการตั้งค่าเรียบร้อย ก็ให้เราเอาลิงก์ RSS ของเราไปให้กับผู้ให้บริการ Podcast ได้เลย เช่นบน Spotify Podcast หรือจะเป็น Apple Podcast ก็ได้แล้วครับ
โดยเราสามารถเอาลิงก์ RSS ได้ที่ โดยการไปที่ Profile > Podcast availability  > RSS Distribution > Copy 
แล้วเราก็สามารถเอาไป Link ที่ Podcast for Spotify ที่ podcast.spotify.com ซึ่งต้องมีบัญชี Spotify ก่อนนะครับ จะเป็น Premium หรือไม่ก็ไม่เป็นไรนะครับ
เริ่มที่ Get started > I Accept > Get started > วางลิงก์ RSS ที่ได้คัดลอกมาในช่อง Link to RSS feed > Next > ตรวจสอบว่าเป็น Podcast ของเราไหม ถ้าใช่ก็กด Next > ระบบจะให้ Send code ไปยัง E-mail ก็ให้เอารหัสมากรอกครับ > หลังจากนั้นก็ตั้งค่ารายการตามประเภทของรายการและภาษา ก่อนจะกดส่งเหมือนใบสมัคร โดยเราจะต้องรอการตรวจสอบประมาณ 2-3 ชั่วโมงครับ แล้วเมื่อทุกอย่างเรียบร้อย Podcast ของเราก็ออกอากาศเรียบร้อยแล้วนั้นเอง



เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับการใช้งาน Anchor ที่จะสามารถสานฝันทำให้คนเราที่อยากมี Podcast เป็นของตัวเองได้สร้างขึ้นเป็นความจริง ผมก็หวังว่าเราจะพัฒนาสังคมของ Podcast ให้มีคุณภาพและการใช้งานที่ดีต่อไป หากเพื่อนๆ ลองทำ Podcast อะไรอยู่ก็ลองเอามาแบ่งปันให้ฟังกันบ้างนะครับ