คือเนื่องจากหลังจากที่ผมเองหายหน้าหายตามไปจากการเขียนบทความ ก็ไม่ต้องสงสัยอะไรครับ พอดีว่ามีอาการป่วย จนไข้ขึ้นเล็กน้อย ในช่วงระหว่างการนอนพักผ่อนอยู่นั้น ผมเองก็เกิดความสงสัยในหัวตัวเองว่า ทำไมต้องมีไข้ แล้วไข้แบบไหนที่อาการน่าเป็นห่วง ในบทความของเราวันนี้ TamKung จะมาแบ่งปันเรื่องราวให้ฟังกันครับ

{tocify} $title={Table of Contents}

อาการไข้ขึ้น หรือภาษาอังกฤษเราจะเรียกว่า Fever โดยมันเป็นการแสดงออกถึงอาการที่เพิ่มขึ้นของอุณหภูมิร่างกายของเราเอง ซึ่งมันจะสูงขึ้นมากกว่าปกติครับ (โดยปกติร่างกายของเราจะมีอุณหภูมิอยู่ราว ๆ 36.5–37.5 °C) ซึ่งตัวของเรานั้นจะร้อนมากยิ่งขึ้น โดยเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายของเรากำลังพยายามทำงานอย่างหนัก เพื่อทำการต่อต้านอาการติดเชื้อที่เกิดขึ้นนั้นเอง และเพื่อเป็นการรักษาร่างกายในคงที่ครับ ซึ่งพอเรามีอาการไข้ขึ้นนี้เนี่ย ก็จะกระตุ้นให้เกิดความตึงตัวของกล้ามเนื้อและร่างกายจะสั่นเพื่อตอบสนองนั้นเองครับ



โดยอาการเป็นไข้ก็เป็นผลมาจากสมองส่วนที่เราเรียกว่า Hypothalamus ที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย เพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้อ การเจ็บป่วย หรือสาเหตุอื่น ๆ โดยจะเป็นการทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น เพื่อกลับสู่เริ่มต้นของสิ่งที่ควรจะเป็นอยู่ ดังนั้นเมื่อมีไข้ แสดงว่ามีบางอย่างเกิดขึ้นในร่างกายของเรา

สิ่งที่สามารถกระตุ้นให้ไข้ขึ้นได้

  • การติดเชื้อรวมถึงไข้หวัดรวมถึง Covid-19
  • การฉีดวัคซีนบางอย่างเช่น Diphtheria หรือ Tetanus
  • โรคคอักเสบบางชนิดรวมถึงโรคไขข้ออักเสบ (RA) และโรคของ Crohn
  • ลิ่มเลือด
  • การตากแดดเป็นเวลานาน
  • อาหารเป็นพิษ
  • ยาบางชนิดรวมถึงยาปฏิชีวนะ

อาการที่จะเกิดขึ้น

  • หนาวสั่น ตัวสั่น
  • เหงื่อออกเยอะกว่าปกติ
  • ปวดศีรษะ
  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • ไม่อยากอาหาร


ในส่วนของอาการที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นอาการที่ปกติและพบได้ทั่วไป แต่ก็มีอาการที่รุนแรงและน่าเป็นห่วงเช่น

  • แน่นหน้าอก
  • หายใจไม่ค่อยสะดวก
  • หายใจเร็ว หายใจลำบาก ไอแล้วรู้สึกเหนื่อย
  • อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
  • ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้ง/วัน
  • หน้ามืด วิงเวียน

อาการเหล่านี้นั้นก็น่าจะเป็นห่วงมาก ๆ นะครับ อาการเหล่านี้ก็อาจจะเป็นตัวบ่งบอกว่า ไข้ของเรานั้นไม่ได้เป็นเพียงไข้ธรรมดาแล้วแน่ ๆ ก็แนะนำว่าให้รีบทำการเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลโดยทันทีจะดีที่สุดครับ

การรักษา



อาการไข้จริง ๆ นั้นก็ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาก็ได้ครับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายจากไข้ได้เองโดยไม่ต้องการรักษาเป็นพิเศษด้วยยา แต่สิ่งที่เราควรทำคือการดื่มน้ำให้เพียงพอ ซึ่งอาจดื่มน้ำสะอาด และอาจจะมีการใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวได้ แม้จะไม่มีหลักฐานมากพอที่จะยืนยันนะครับ แต่ก็พอจะช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายลงได้ ซึ่งสามารถเช็ดบริเวณหน้าผาก ซอกรักแร้ ต้นขา ขาพับ ฝ่ามือและฝ่าเท้าครับ 

หรือถ้าทางที่เราน่าจะคุ้นเคยที่สุดคือการกินยาลดไข้ครับ ซึ่งก็มีตัวยาลดไข้ที่มีหลายตัวไม่ว่าจะเป็น พาราเซตามอล อะเซตามิโนเฟน หรือ Ibuprofen ก็ตาม และมีทั้งเป็นเม็ดและแบบยาน้ำ ก็ต้องเลือกใช้ให้ตรงตามที่ฉลากของยาเขียนไว้ก่อนใช้ยานะครับ ซึ่งตัวยาเหล่านี้จะมีประสิทธิผลในการลดไข้ด้วยตัวยาเอง และสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย โดยคำแนะนำที่ควรจำไว้คือ ห้ามใช้ยาถี่จนเกินไปครับ เพราะอาจส่งผลต่อร่างกายและสุขภาพได้ครับ

ประโยชน์ของไข้



ยังมีข้อโต้แย้งถึงประโยชน์หรือโทษของไข้ และประเด็นนี้ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ครับ การศึกษาในร่างกายของสัตว์มีกระดูกสันหลังเลือดอุ่นและมนุษย์บ่งบอกว่า สิ่งมีชีวิตจะหายจากอาการป่วยจากการติดเชื้อหรือความเจ็บป่วยวิกฤตจากไข้ได้เร็วขึ้น การศึกษาในฟินแลนด์บอกว่าเมื่อมีไข้จะช่วยลดอัตราตายจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

โดยทฤษฎีแล้ว ไข้ช่วยสนับสนุนกลไกการป้องกันของร่างกาย โดยมีปฏิกิริยาทางระบบภูมิคุ้มกันที่สำคัญบางอย่างที่ถูกเร่งได้ด้วยอุณหภูมิครับ ซึ่งไข้อาจเป็นประโยชน์ในบางครั้งเพราะทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะกับจุลชีพก่อโรคบางชนิดนั้นเอง และเม็ดเลือดขาวจะแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วขึ้นเพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและยังช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคและจุลินทรีย์ที่บุกรุกร่างกาย

อย่างไรก็ดี ไข้นั้นก็มีทั้งดีและโทษครับ และมีหลายวิธีในการรักษา โดยปกติอาการไข้นั้นก็จะลดลงไปเองตามธรรมชาติ และมันจะไม่ขึ้นสูงมากจนเกินไป แต่ในกรณีที่ไข้ขึ้นสูงติดต่อกันหลายวัน ก็ควรไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจดูให้ละเอียด โดยจะได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อการตรวจสอบให้ละเอียดว่าเป็นอะไรกันแน่นะครับ เผื่อเจอก่อน รักษาก่อนจะเกิดอันตรายไปกว่านี้ครับ

พอดีว่าอาการเป็นไข้ของผมนั้นไม่ได้มาจากการเป็นไข้หวัดหรือ Covid-19 แต่อย่างใดนะครับ แต่เป็นไข้มาจากการที่พึ่งไปฉีดวัคซีนมานั้นเอง โดยที่เป็นการอาหารปกติและเป็นการที่พบได้บ่อยจากการฉีดวัคซีนป้องกัน Covid-19 นั้นเองครับ วิธีการรักษาที่ผมนั้นใช้คือการกินยาพาราเซตามอล 500 มก. ได้ 1 เม็ด และกินซ้ำได้โดยห่างกัน 6 ชั่วโมงนั้นเองครับ